จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

มารูจักโรคนก สำหรับคนเลี้ยงนกครับ

โรคชนิดต่างๆที่เกิดกับนก

      โรคซิททาโคซิส(Psittacosis) หรือที่เรียกว่า “โรคนกแก้ว” โรดนี้จะเริ่มแสดงกับนกให้เห็นชัดเจนคือ มีการเบื่อ
อาหาร ซึม ขนฟู  ลูกตาไม่แจ่มใส ต่อมาจะมีอาการหวัด น้ำมูกไหล และท้องร่วง หากเป็นร้ายแรงสัตว์จะตายใน 3 – 4 วัน หลังจากเริ่มอาการ นอกจากนี้แล้วโรคนี้จะติดต่อถึงคนด้วย
       การป้องกันรักษา ที่ได้ผลแน่นอนในเวลานี้นิยมใช้ Antibiotic เช่น ออริโอมัย-เทอร์มัยซิน หรือซัลฟา เมทราลิน วิธีการรักษาควรรักษาเป็นขั้น ๆ โดยเริ่มจากการแก้ท้องเสีย แล้วให้ยาเจริญอาหาร จากนั้นจึงมาใช้ Antibiotic ในบางกรณีเราต้องให้พวก Antibiotic ก่อน แล้วจึงแก้เรื่องท้องเสียก็ได้
       อย่างไรก็ดี โรคนี้ปัจจุบันสามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง มีการตรวจกักกันโรคนกที่นำเข้า จะมีก็เป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้น

       โรคเชื้อรา(Asperggillosis)       โรคชนิดนี้เกิดจากเชื้อราชนิด  Asperggillus อันเป็นชื้อราหรือ Fungi เล็ก ๆ จากสารวัตถุผุพังชนิดอื่น ๆ ลักษณะของเชื้อโรคนี้คล้ายเห็ดรา ปรากฏเป็นหย่อมอยู่ในหลอดลม นกที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีอาการเชื่อง หงอย กินอาหารไม่ค่อยได้ มีขนพอง ระบบการหายขัด มีเสียงครืดคราดในลำคอคล้ายอาการของโรคหืด หรือโรคหลอดลมอักเสบ นับเป็นโรคที่แพร่หลายติดต่อกันได้รวดเร็วทางน้ำ และร้ายแรงมาก อาจทำให้นกตายได้
       การป้องกันรักษา ถ้านกเป็นในระยเริ่มต้น หรือยังไม่พบเชื้อราอาจใช้วิธีบำบัดง่าย ๆ โดยหยดกลีเซอรีน(Glycerrin) หรือทิงเจอร์ไอโอดีน(Tincture of Iodine) เล็กน้อยลงในน้ำดื่ม
( 2 – 3 หยด หรือ 5 – 6 หยด แล้วแต่ปริมาณของน้ำ) ทุกวันจนอาการนั้นหาย และโรครานี้มักจะเกิดจากเมล็ดข้าว อาหารที่หมักหมมสกปรก จึงควรระมัดระวังในคุณภาพและความสะอาดของข้าวนั้น ๆ ตามสมควร จะช่วยป้องกันโรคได้ระดับหนึ่ง

       โรคอหิวาต์(Fowl Cholera)       โรคอหิวาต์นี้ไม่ใช่เฉพาะจะเป็นกับเป็ดไก่เท่านั้น นกก็เป็นโรคนี้กันมากเหมือนกัน สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเกิดจากเชื้อพลาสเจอเรลล่า เอวิซิดา(Pasteurella avicida) เชื้อนี้มีอยู่ในอุจจาระของนกป่วย และระบาดติดต่อกันไปได้หลายทาง เช่น แมลงวัน เป็นตัวนำติดไปกับอาหาร น้ำ ติดไปกับภาชนะต่าง ๆ ที่ใช้ในการเลี้ยงดูนก ติดไปกับมือของผู้เลี้ยง 
เมื่อเชื้อโรคนี้เข้าสู่ร่างกายของ นกแล้ว จะแสดงอาการให้เห็นได้ภายใน 1 – 3 วัน โดยน้ำพิษ(Toxin) จากตัวเชื้อจุลินทรีย์จะเจริญตัวอยู่ในโลหิตของนกป่วย จะถูกนำไปยังอวัยวะต่าง ๆ โดยกระแสโลหิต ทำให้โลหิตภายในเกิดเป็นพิษ ถ้าเป็นอย่างชนิดร้ายแรงนกจะตายทันทีโดยไม่สังเกตเห็นอาการ
ส่วนในรายที่เป็นอย่างเรื้อรัง ระยะการเป็นโรคจะยาวกว่า อาการเด่นชัด ที่สังเกตเห็นได้จากนกป่วยที่เป็นโรคนี้ก็คือ อาการท้องเดิน อุจจาระเป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลปนเขียว มีอุจจาระติดก้น ในปากและลำคอมีน้ำลายเหนียว หายใจหอบ ยืนหงอยซึม อุณหภูมิของร่างกายสูงมาก และตายในที่สุด
       การป้องกันรักษา ใช้ยาปฏิชีวนะละลายน้ำให้กิน และต้องทำไปพร้อม ๆ กับการทำความสะอาดกรงนกและแยกนกป่วยออก สำหรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ควรปรึกษาสัตว์แพทย์ 

      โรคฝีดาษ
โรค นี้เกิดขึ้นเนื่องจากยุงเป็นพาหะนำโรคมา คือถูกยุงกัด ลักษณะของโรคที่เกิดขึ้นในขั้นแรกจะเป็นตุ่ม มักพบบริเวณตา จมูก และ ปาก ขา หรือบริเวณที่มีขนคลุมบาง ๆ ต่อมาตุ่มนั้นจะใหญ่ขึ้นเป็นไตแข็งและแตกออกในที่สุด
       การป้องกันรักษา  เมื่อระยะเริ่มแรกของโรค นกจะมีอาการซึมไม่กินอาหาร ต่อมาจะมีตุ่มแถวเกิดขึ้นบริเวณหน้าและตา ฯลฯ ในกรณีที่ไม่ร้ายแรงนกที่เป็นโรคนี้อาจหายไปเองภายใน 2 – 3 สัปดาห์ ส่วนในรายที่เป็นอย่างร้ายแรงมีตุ่มเกิดขึ้นในลำคอ นกนั้นจะแสดงอาการคอโก่ง เวลาที่พยายามกินน้ำหรืออาหาร จึงต้องเปิดปากออกดูว่าเป็นอาการของโรคฝีดาษหรือไม่ หรือว่าเกิดจากอะไรติดคอ จะได้รักษาได้ทันท่วงที การักษาปัจจุบันเราใช้วิธีง่าย ๆ คือ
       1. ชนิดที่เป็นในปาก ใช้ปากคีบถอนเอาตุ่มนั้นออก แล้วใช้ออริโอมัยซินชนิดครีมป้ายที่แผล หรือจะใช้ยาทิงเจอร์ไอโอดีน 2 % แต้มแผลก็ได้
       2. ชนิดที่ขึ้นบริเวณตา หน้า ใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน 2 % แต้มหรือจะใช้ฟินนิซิลลิน
ครีม ป้ายกก็ได้เช่นกัน และมียาอีกชนิดหนึ่งซึ่งใช้ได้ผลดี แต่มีสีเปรอะเปื้อนเล็กน้อยคือยาสีม่วง การทาควรทาวันละ 2 หน เช้าและเย็น ไม่นานก็จะหายเป็นปกติ

และเมื่อปรากฏโรคนี้เกิดขึ้นก็จะ ติดต่อกันได้ง่าย จึงต้องรีบแยกออกจากคู่ทันที เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด สำหรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคควรปรึกษาสัตว์แพทย์ 
      โรคหลอดลมอักเสบ(Bronchitis)       โรค หลอดลมอักเสบหรือโรคหืด หมายถึงการอักเสบของหลอดลม อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมของอากาศโดยรวดเร็ว กรงเลี้ยงชื้นแฉะสกปรก อากาศมีความชื้นมาก นกสูดเอาฝุ่นละอองเข้าไปมาก และยังเกิดขึ้นจากโรตติดต่อและโรคธรรมดาบางโรคด้วย เช่น โรคแอสเปอร์กิลโลซีส โรคหวัด ฯลฯ
ในระยะเริ่มแรกที่นกเริ่มเป็นโรคนี้นกจะ ยังคงกินอาหารได้ตามปกติ ไม่แสดงอาการผิดปกติอะไรให้เห็น เมื่ออาการของโรคทวีขึ้นนกจะเริ่มแสดงอาการซึมเหงา เบื่ออาหาร หายใจลำบาก และมีเสียงดังขณะหายใจและจามเสมอ ๆ บางตัวอ้าปากค้างมีอาการหอบ หางกระตุก มีอาการติดต่อกันเป็นพัก ๆ แต่ไม่รุนแรงเหมือนโรคปอดบวม
      การป้องกันรักษา รีบแยกนกนั้นออกให้ห่างจากนกอื่น ๆ โดยนำมารักษาในกรงพยาบาล ซึ่งมีอากาศอบอุ่นอยู่ตลอดเวลา ใช้ยากลีเซอรีนหรือทิงเจอร์ไอโอดีนหยดลงในน้ำดื่มประมาณ 2 – 3 หยด (แล้วแต่ปริมาณน้ำ) จนกว่าอาการดังกล่าวจะหายเป็นปกติ

หรือจะใช้วิธีรมหัวนกป่วยด้วยไอน้ำอุ่น ซึ่งได้หยดน้ำมันยูคาลิปตัสลงไปเล็กน้อย ในตอนเช้าหรือตอนกลางคืน และใช้น้ำมันแคมฟอเรเตทออยส์(Camphorrated oil) ทาบริเวณคอเพื่อช่วยให้เกิดความอบอุ่นและหายใจสะดวกขึ้น
สำหรับน้ำที่ให้นกกินก็ควรผสมยาเอวิไมซิ น(Avimycin)หรือ ออริโอมัยซิน ลงไปด้วย เพื่อให้นกได้กินยาจะช่วยให้อาการของนกคืนสู่สภาพปกติเร็วขึ้น สำหรับนกที่มีอาการหายใจหอบและเสียงครืดในลำคอ หากอาการน่าวิตกควรผสมยาในอัตราส่วนโดยประมาณ ดังนี้
          กรดแอมโมเนียอย่างแรง  3  หยด
          ทิงเจอร์ซึ่งสกัดได้จาก”ซีควิล” 3  หยด
          กรดดินประสิวอย่างหวาน  3  หยด
 ผสมลงในน้ำประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ แล้วใช้หยอดลงในลำคอครั้งละ 5 หยด จนกว่าอาการจะดีขึ้น

         โรคหวัดและหนาวสั่น         โรคหวัดของนกนั้นมีอาการเหมือนโรคหวัดของคนคือ มีอาการจามและมีน้ำมูกไหลออกมาทางรูจมูก หรือมีเสมหะเหนียวออกจากปากเมื่อไอหรือจาม
 การป้องกันรักษา รีบแยกนกป่วยออกไปไว้ในกรงพยาบาล อุณหภูมิของกรงพยาบาลควรให้มีความอบอุ่นสูงประมาณ 75 – 90 องศาฟาเรนไฮด์(ใช้แสงไฟฟ้า 100  แรงเทียน อยู่ใต้พื้นกรงแหละใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น เทอร์รามัยซิน ผสมลงในน้ำดื่มเพียงเล็กน้อย ก็สามารถช่วยให้อาการใข้หายได้

         โรคปอดอักเสบ โรค นี้เป็นที่มีมาคู่กับการเลี้ยงสัตว์ปีกแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว สาเหตุของโรคนี้เกิดจากสถานที่เลี้ยงได้รับลมโกรกมากเกินไป หรืออากาศเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาวจนเกิดอาการเป็นหวัด เป็นหืด แล้วตามด้วยโรคปอดอักเสบ ที่มีอาการซึมไม่ร่าเริง ขนฟู จาม สำลัก หายใจฟืดฟาด หากไม่ได้รับการรักษาอาการโรคหวัดให้หายขาด
        การป้องกันรักษา ให้รับแยกนกป่วยออกมาขังไว้ในกรงพยาบาล เอาผ้าคลุมกรงไว้เว้นช่องระบายอากาศไว้เพียงเล็กน้อย เพื่อให้นกได้รับความอบอุ่น ถ้าอุณภูมิภายในกรงยังอบอุ่นไม่พอก็ให้ใช้หลอดไฟฟ้าขนาด 5 – 10 แรงเทียน เปิดเป็นช่วง ๆ หากนกยังพอกินน้ำได้ การรักษาก็ใช้ยาปฏิชีวนะที่ใข้รักษานกทั่วไปที่มีขายตามร้านขายยาสัตว์ หรือไม่ก็ให้ปรึกษาสัตว์แพทย์      

        โรคเก้าหรือข้อบวม(gout)        โรคนี้เกิดจากสาเหตุหลายประการด้วยกัน เชน นกเป็นโรคเกี่ยวกับไต นกกินอาหารที่มีโปรตีนสูงเกินไป หรือกินอาหารทีมีไขมันมากๆ นกกินอาหารไม่ถูกส่วน ขาดไวตามินและขาดการออกกำลังกาย โดยทั่ว ๆ ไปมักจะเป็นกับนกที่มีอายุมากกว่านกทีมีอายุน้อย นกที่ป่วยเป็นโรคนี้จะแสดงอาการข้อขาและข้อเท้าค่อย ๆ บวมขึ้น นกรู้สึกเจ็บปวด สุขภาพเลวลง  และอาจมีอาการท้องร่วงเรื้อรังเล็กน้อยด้วย ถ้านกตายแล้วทำการผ่าซากดูไตจะบวมกว่าธรรมดาเล็กน้อย
        การป้องกันรักษา ใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนอ่อน ๆ ทาตามข้อที่บวมบาง ๆ วันละ 1 ครั้ง ย้ายนกไปในกรงกว้าง ๆ เพื่อให้ได้บินออกกำลังมาก ๆ ให้อาหารพวกพืชสดสีเขียว  ใช้น้ำต้มผสมโซเดียมไบคาร์บอเนตเล็กน้อยตึ้งให้กินจะช่วยป้องกันให้หายได้ใน เวลาไม่นานนัก

       โรคท้องผูก(Constipation)       โรคท้องผูกเป็นโรคที่นับว่าสำคัญมากโรคหนึ่งของนกเลี้ยงขังกรงทั่ว ๆ ไป สาเหตุของโรคนี้เกิดจากนกได้รับการเลี้ยงดูด้วยอาหารไม่เหมาะสม เช่น ให้อาหารหยาบแห้งเกินไป อาหารไม่มีพวกพืชสดสีเขียว  ให้น้ำนกไม่เพียงพอแก่ความต้องการ การขาดการออกกำลังกาย เลี้ยงนกไว้ในกรงที่คับแคบเกินไป ไม่มีที่กระโดดโลดเต้นโผบินได้ เกิดการอุดตันขึ้นในลำไส้ หรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหารผิดปกติ และนอกจากนี้ยังจะเกิดขึ้นจากโรคบางโรคได้
สำหรับอาการที่สังเกตเห็นได้ก็คือ นกจะถ่ายอุจจาระเป็นไปด้วยความยากลำบาก อุจาระจะออกมาเพียงเล็กน้อยและเป็นก้อนแข็ง ถ้าเป็นอยู่นานวันนกจะเหงาซึม ค่อย ๆ เบื่ออาหารลงเรื่อย ๆ
       การป้องกันรักษา ควรทำดังนี้
       1. หยดน้ำมันโอลีฟ หรือน้ำมันพาราฟิน หยดใส่ปากนกครั้งละ 1 – 2 หยด จนกว่าอาการจะเข้าขั้นปกติ
       2. น้ำต้องจัดตั้งไว้ให้กินตลอดเวลา และในน้ำก็ให้เติมโซดาซัลเฟตลงไปเล็กน้อย
       3. ให้อาหารพวกพืชสดสีเขียวให้กิน
       4. ถ้าจำเป็นต้องสวนทวรให้ ก็ควรใช้น้ำสบู่อุ่น ๆ หรือจะใช้กลีเซอรีนก็ได้ เพื่อช่วยให้ก้อนแข็งของอุจจาระที่อุดปิดอยู่นั้นอ่อนเหลวลื่นเสียก่อน

       โรคท้องร่วง       โรคนี้โดยทั่วไปมักจะเกิดจากการถ่ายของนกป่า ซึ่งอาจบินผ่านหรือชอบมาป้วนเปี้ยนอยู่ใกล้ ๆ กรงนกเลี้ยง แล้วถ่ายอุจจาระซึ่งมีเชื้อนั้นทิ้งไว้บนพื้นกรง ในน้ำดื่มเกิดการติดเขื้อ นกที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ถ่ายออกเป็นน้ำใส ๆ และมีอาการเซื่องซึม ไม่มีแรง
        การป้องกันรักษา ถ้าสงสัยหรือเห็นได้ชัดเจนจากอาการดังกล่าวแล้ว ควรใช้ยาซัลฟาเมชีนโดยหาซื้อและขอคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการใช้จากร้านสัตว์ แพทย์โดยทั่วไป สำหรับยาชนิดอื่นที่เป็นยาปฏิชีวนะ เช่น พวกเทอร์รามัยซินก็สามารถใช้ได้ โดยผสมลงในน้ำเพียงเล็กน้อย เพื่อให้นกดื่มกินรักษาป้องกันได้ผลดีเช่นกัน

         โรคเครื่องย่อยอาหารพิการ           หากไม่พบว่ากระเพาะเก็บอาหารมีลักษณะผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการถูกกระทบกระแทก ก็อาจเชื่อได้ว่าอาจเป็นเพราะเครื่องย่อยอาหารพิการ โดยนกจิกกินอาหารได้เพียงครู่เดียวก็หยุด หรือไม่ก็จิกคุ้ยอาหารทิ้งแล้วหยุดเช็ดถูจงอยปาก มีอาการขนพอง กินอาหารได้น้อย
           การป้องกันรักษา ให้ลดปริมาณอาหารให้น้อยลง ใช้พาราฟินอย่างเหลวผสมลงในอาหารเล็กน้อยให้กิน สำหรับทราย ซึ่งจะช่วยย่อยอาหารนั้นควรเพิ่มให้ที่ละน้อย เมื่อนกมีอาการดีแล้ว และต่อไปควรป้องกันระวังไว้อย่าให้ทรายผสมขาดได้ ต้องให้สม่ำเสมอ เพราะนกทุกขนิดต้องกินทรายหรือกรวดเม็ดเล็ก ๆ เพื่อใช้ในการบดย่อยอาหารให้ดีอยู่เสมอ

ระวังไข้น้ำนมในสุนัข

โรคไข้น้ำนม Eclampsia in Dogs

โรค ไข้น้ำนมเป็นโรคที่เกิดอย่างเฉียบพลันทันทีที่ระดับแคลเซี่ยมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia)  พบได้บ่อยในช่วงที่แม่สุนัขกำลังให้นมลูก  สาเหตุเกิดเนื่องจากร่างกายของแม่สุนัขสูญเสียแคลเซี่ยมไปทางน้ำนม  โดยได้รับแคลเซี่ยมทดแทนไม่เพียงพอ  ภาวะขาดแคลเซี่ยมในสุนัขต่างจากของคน  ในคนความดันเลือดจะผิดปกติก่อนคลอด
สาเหตุโน้มนำ
พบได้บ่อยในสุนัขมากกว่าแมว
สุนัขพันธุ์เล็กมักเกิดโรคนี้ได้ง่ายกว่าสุนัขพันธุ์ใหญ่
มีลูกจำนวนมากในแต่ละครอก
ท้องแรกมีโอกาสเสี่ยงสูงในการเกิดโรคไข้น้ำนม
ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอระหว่างการตั้งท้องและให้นมลูก
อาการมักแย่กว่าหากระหว่างการตั้งท้องให้แคลเซี่ยมเสริม
พบบ่อยหลังคลอดลูกแล้ว  2 – 3  สัปดาห์  แต่บางครั้งก็พบว่ามีอาการไข้น้ำนมหลังหย่านมลูกไปแล้ว  คือ  ประมาณ  6  สัปดาห์หลังคลอด

อาการ
กระวนกระวาย,  กระสับกระส่าย  อยู่ไม่เป็นสุข
หอบมาก  อย่างที่เรียกว่าสุนัขหอบแดด
ตัวเกร็ง,  เดินลำบาก  เนื่องจากเกิดตะคริว
กล้ามเนื้อสั่นกระตุกหรือเกร็งแข็ง
ชัก ไข้ขึ้นสูงมาก บางรายอาจถึง  106 – 108  องศาฟาเรนไฮต์
หายใจถี่และแรง ,หมดสติและตาย

การวินิจฉัย
โรคนี้เป็นโรคที่วินิจฉัยค่อนข้างง่าย  โดยดูจากอาการและประวัติการคลอดลูก  อาจตรวจค่าเคมีในเลือด  โดยตรวจระดับแคลเซี่ยมในเลือด  มักต่ำกว่า  7  มก/เดซิลิตร  น้ำตาลในเลือดต่ำ 

การรักษา
โรคไข้น้ำนมถือเป็นกรณีฉุกเฉินต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน โดยการรักษาต้องให้ระดับแคลเซี่ยมกลับเข้าสู่ภาวะปกติเร็วที่สุด  และลดการสูญเสียแคลเซี่ยมของร่างกาย  โดยอาจต้องทำการหย่านมลูกสัตว์แล้วให้นมผสมกับลูกสัตว์แทน  การรักษามักทำโดย ให้แคลเซี่ยมเข้าหลอดเลือดดำ ให้แม่สุนัขกินน้ำตาลเพื่อเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด
ในรายที่ชักต้องให้ยากันชัก โดยเฉพาะในรายที่ไม่ตอบสนองต่อการฉีดแคลเซี่ยมและให้น้ำตาลกินลดอุณหภูมิ ร่างกายสัตว์ลงโดยการประคบด้วยน้ำแข็ง หรือเช็ดตัวด้วยน้ำผสมแอลกอฮอล์ หย่านมลูกแล้วให้นมผสมแทน  โดยต้องแยกแม่ออกจากลูกอย่างเด็ดขาด ให้แคลเซี่ยมเสริมโดยการกินเมื่ออาการคงที่แล้ว
บางรายอาจให้ไวตามิน ดี เสริมการดูดซึมของแคลเซี่ยม

การดูแล
ให้ยาตามที่สัตวแพทย์สั่ง ต้องแยกแม่ออกจากลูกโดยเด็ดขาด  โดยเฉพาะในระยะ  24 – 48  ชั่วโมงแรกภายหลังได้รับการรักษาระมัดระวังเรื่องการให้นมลูกสัตว์  ไม่ควรเปลี่ยนนมบ่อย  เพราะจะทำให้ลูกท้องเสียง่ายและอาจตายได้  ถ้าลูกยังเล็กควรให้ได้รับความอบอุ่นอย่างเพียงพอโดยเฉพาะในฤดูหนาว ถ้าแม่สุนัขแสดงอาการอีกให้รีบนำกลับไปหาสัตวแพทย์

การป้องกัน
วิธีที่ดีที่สุด  คือ  หลีกเลี่ยงการให้แคลเซี่ยมเสริมในระยะตั้งท้อง  แต่ให้อาหารแม่สุนัขที่สมดุลย์  โดยให้อาหารที่มีคุณภาพสูงและดูดซึมได้ดี  การให้แคลเซี่ยมเสริมควรให้ภายหลังคลอดและแม่สุนัขอยู่ในระยะให้นมลูกเท่า นั้น  ในกรณีที่มีลูกสุนัขจำนวนมากควรให้นมผสมเสริมเพื่อป้องกันแม่ขาดแคลเซี่ยม

ลูกหมูท้องเสีย

ลูกหมูท้องเสียเกิดจากอะไรได้บ้าง

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าใน อุตสาหกรรมการผลิตสุกร ลูกสุกรถือเป็นผลผลิตที่เป็นดัชนีสำคัญที่ใช้เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพการ ผลิตของฟาร์ม ดังนั้นการเลี้ยงเพื่อให้ได้จำนวนลูกสุกรต่อแม่ต่อปีที่มากนั้น ผู้เลี้ยงต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างมาก เนื่องจากลูกสุกรแรกเกิดนั้นระบบภูมิคุ้มกันต่อโรคยังเจริญพัฒนาไม่เต็มที่ ดังนั้นการจัดการเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่อลูกสุกรแรกเกิดจึงเป็น สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้ฟาร์มลดการสูญเสียจำนวนลูกสุกรลงได้
ในฉบับนี้ผู้เขียนจึงขอกล่าวถึงอาการหรือโรคที่เป็นปัญหา สำคัญและพบได้บ่อยมากในลูกสุกรดูดนม นั่นคือ อาการท้องเสีย เนื่องจากท้องเสียในลูกสุกรดูดนมนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนมากมักเกิดจาก เชื้ออีโคไล (Colibacilosis) , การได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ ,โรคทีจีอี (TGE; Transmissable gastroenteritis), ท้องเสียจากเชื้อคลอสตริเดียม (Clostridial enteritis) , โรคบิดมีตัว (Coccidiosis) และ ท้องเสียจากเชื้อไวรัสโรตา (Rotaviral enteritis) ซึ่งโรคเหล่านี้ลูกสุกรจะแสดงอาการท้องเสียเป็นหลัก และแต่ละโรคนั้นจะมีอัตราการป่วยและอัตราการตายที่แตกต่างกันออกไป โดยพบว่า สาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสจะทำให้ลูกสุกรแสดงอาการอย่างรวดเร็ว และสร้างความเสียหายที่รุนแรงกว่าการท้องเสียจากเชื้อแบคทีเรีย โดยสาเหตุของการท้องเสียในลูกสุกรนั้น สามารถสรุปได้ดังนี้
1. ท้องเสียจากเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ เชื้ออีโคไล(Colibacilosis), เชื้อคลอสตริเดียม(Clostridial enteritis)
2. ท้องเสียจากเชื้อไวรัส ได้แก่ โรคทีจีอี (TGE; Transmissable gastroenteritis), โรคพีอีดี(PED; Porcine epidemic diarrhea) ,โรคพีอาร์อาร์เอส (PRRS) และ เชื้อไวรัสโรตา (Rotaviral enteritis)
3. ท้องเสียจากเชื้อโปรโตซัว ได้แก่ โรคบิดมีตัว (Coccidiosis)
4. ท้องเสียที่เกิดจากการจัดการ ได้แก่ อุณหภูมิต่ำ, ลมโกรก, ความชื้นสูง, ปริมาณน้ำนมไม่เพียงพอ
อาการที่แสดง (Clinical signs)
โดยทั่วไปลูกสุกรสามารถแสดงอาการท้องเสียได้ตลอดช่วงดูดนม แต่พบว่ามี 2 ช่วงที่พบอาการท้องเสียได้สูงมากในลูกสุกร คือ ช่วงแรกเกิดถึง 5 วัน และช่วง 7-14 วัน โดยอาการที่แสดงแบ่งออกได้ดังนี้
1. ชนิดเฉียบพลัน ( Acute Disease )
อาการท้องเสียแบบเฉียบพลัน มักจะพบว่าลูกสุกรที่สุขภาพดีจะตายก่อน เมื่อนำไปผ่าซากจะพบการอักเสบแบบรุนแรงของลำไส้ (Severe acute enteritis)ในขณะที่ไม่พบอาการท้องเสียใดๆ หรือบางครั้งอาจพบว่าลูกสุกรมีการนอนสุมกันและมีอาการตัวสั่น อาจพบว่าบริเวณหางและรูทวารเปียก บริเวณคอกมีกลิ่นเหม็นคาว ลูกสุกรตัวแห้งเนื่องจากภาวะขาดน้ำ และอาจพบอุจจาระได้ตั้งแต่สีขาวจนถึงสีส้มตามบริเวณคอกและในบางครั้งอาจพบ ว่าก่อนลูกสุกรตายจะแสดงอาการชักแบบหมุนและมีน้ำลายฟูมปากได้
2. ชนิดกึ่งเฉียบพลัน (Subacute disease)
อาการท้องเสียแบบกึ่งเฉียบพลันนั้นจะคล้ายกับแบบแรก แต่มักจะมีความรุนแรงน้อยกว่าและมีอัตราการตายที่ต่ำกว่า โดยอาการท้องเสียแบบกึ่งเฉียบพลันนี้มักจะพบในลูกสุกรที่มีอายุระหว่าง 7-14 วัน และมักจะพบว่าอุจจาระมีลักษณะเป็นน้ำจนถึงเป็นครีมและบ่อยครั้งพบว่ามีสีขาว ปนเหลือง
ภาพที่ 1 แสดงอาการท้องเสียในลูกสุกร
ภาพที่ 2 แสดงลักษณะอุจจาระสีเหลืองครีมข้น มีฟอง
การวินิจฉัย (Diagnosis)
การวินิจฉัยสาเหตุของอาการท้องเสียของลูกสุกร อาศัยการซักประวัติที่ครบถ้วน การสังเกตอาการผิดปกติ การผ่าซาก การตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยการเพาะเชื้อจากการทำ rectal swab และการวินิจฉัยโดยดูการตอบสนองต่อการรักษา ซึ่งบ่อยครั้งพบว่าอาการผิดปกติที่ปรากฏนั้นอาจเกิดมาจากหลายๆ โรค ไม่ใช่เพียงแค่โรคเดียว ดังนั้นควรเก็บรวบรวมข้อมูลหลายๆด้านมาประกอบกัน เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง โดยสาเหตุหลักของการเกิดอาการท้องเสียในลูกสุกรนั้นได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น ว่าสามารถเกิดจากอะไรได้บ้าง ในส่วนของช่วงอายุของการเกิดท้องเสียนั้นก็เป็นข้อมูลหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ ประกอบการวินิจฉัยได้ดังตารางที่ 1 ถ้าหากว่าลูกสุกรแสดงอาการท้องเสียในวันแรกหรือวันที่ 2 หลังคลอด มักจะเกิดจากเชื้ออีโคไล หรือลำไส้อักเสบจากเชื้อคลอสตริเดียม(Clostridial enteritis) แต่ถ้าลูกสุกรแสดงอาการท้องเสียเมื่อ อายุ 5-7 วัน มักจะเกิดจากโรคลำไส้อักเสบจากเชื้อบิดมีตัว (Coccidiosis) ส่วนอาการท้องเสียที่เกิดจากเชื้อไวรัสโรตา(Rotaviral enteritis) มักเกิดในลูกสุกรที่อายุมากกว่า 1 สัปดาห์ เป็นต้น
ตารางที่ 1 แสดงสาเหตุหลักของอาการท้องเสียในลูกสุกรดูดนมตามช่วงเวลาการเกิดโรคหลังคลอด
สาเหตุหลักของอาการท้องเสียในลูกสุกรดูดนม
ระยะแรก(วัน)
ระยะท้าย(วัน)
อัตราการตายของลูกสุกร

0-3
3-7
7-14
15-21

ภาวะน้ำนมแห้ง
/
/
/
/
ปานกลาง
เชื้อคลอสตริเดียม
/
/
/

สูง
โรคบิด
/
/
/
ต่ำ
อีโคไล
/
/
/

ปานกลาง
พีอีดี
/
/
/
/
สูง
พีอาร์อาร์เอส
/
/
/
/
ไม่แน่นอน
เชื้อไวรัสโรตา

/
/
ต่ำ
โรคทีจีอี
/
/
/
/
สูง

อาการท้องเสียนอกจากจะเกิดจากการติดเชื้อแล้วยังสามารถเกิดได้จากปัจจัย ด้านการจัดการและสิ่งแวดล้อม ในลูกสุกรมี 2 ปัจจัยที่ต้องควบคุมเป็นพิเศษคือ อุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมและการใช้ประโยชน์ได้ของน้ำนม ลูกสุกรแรกคลอดต้องการอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 33 องศาเซลเซียส ถ้าหากลูกสุกรอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำจะลดความสามารถในการต่อต้าน การติดเชื้อ ดังนั้นในสภาวะนี้แม้มีเชื้อจุลชีพจำนวนไม่มากก็สามารถก่อให้เกิดโรคได้และ ในลูกสุกรที่มีอาการหนาวสั่นเนื่องจากอากาศเย็นจะลดการบีบตัวของลำไส้ ความชื้นและน้ำที่ขังอยู่บนพื้นคอกจะเอื้อต่อการเจริญเติบโตและการคงอยู่ของ แบคทีเรียที่ก่อโรค
การที่ลูกสุกร ได้รับน้ำนมในปริมาณที่ไม่เพียงพอ จะทำให้ลูกสุกรไม่ได้รับภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ในน้ำนมและไม่สามารถนำน้ำนมไป สร้างเป็นพลังงานเพื่อให้ความอบอุ่นกับร่างกาย ดังนั้น จึงเสี่ยงต่อการเกิดอาการท้องเสียได้
นอกจากนี้สาเหตุ การติดเชื้อในลำไส้ของแม่สุกรมักจะเป็นคนละสาเหตุกับลูกสุกร ยกเว้น โรคทีจีอี และ โรคพิษสุนัขบ้าเทียม (AD; Aujeszky’s disease) ซึ่งมักจะพบว่าแม่สุกรมีอาการท้องเสียพร้อมกับมีอาการอาเจียนร่วมด้วย
ดังนั้นเมื่อผู้ เลี้ยงได้ทราบว่าอาการท้องเสียในลูกสุกรสามารถเกิดได้จากสาเหตุอะไรได้บ้าง แล้ว ขั้นตอนต่อมาผู้เลี้ยงก็จำเป็นต้องทราบว่าจะทำอย่างไรจึงจะสามารถรักษาและ ป้องกันการเกิดโรคและจะกำจัดโรคนี้ออกจากฟาร์มไปได้อย่างไร ซึ่งการรักษาโดยการใช้ยาเพียงอย่างเดียวนั้น ปัจจุบันพบว่าไม่เพียงพอที่จะรักษาและป้องกันการเกิดโรคได้ การจัดการด้านการเลี้ยงและด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีจะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่เข้ามา มีบทบาทสำคัญและควรให้ความเอาใส่ใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากว่าลูกสุกรที่มีคุณภาพดีนั้นก็ต้องมาจากการเลี้ยงในสิ่งแวดล้อมที่ ดีเช่นเดียวกัน
เอกสารอ้างอิง Straw Barbara E, Allaire Sylvie D, Mengeling William L, Taylor David J. Diseases of swine. 8th edition. Iowa state university press : USA. 1999.

ใครเลี้ยงวัวระวังโรคกีบเน่าครับ

โรคกีบเน่า (Infectious foot rot) เป็นโรคติดต่อสำคัญที่ทำให้โคนม แสดงอาการขาเจ็บ เนื่องจากส่วนต่างๆ ของกีบมีการอักเสบ สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อฟูโซแบคทีเรียม นิโครโฟรัม (Fusobacterium necrophorum) ซึ่ง โรคนี้เกิดได้ทุกฤดูแต่จะพบมากในฤดูฝน และมีสาเหตุโน้มนำมาจากการเลี้ยงโคในคอกที่ชื้นแฉะตลอดเวลาหรือคอกที่มีแอ่ง โคลนมีก้อนหิน ก้อนกรวดปะปนอยู่ หรือคอกที่มี   พื้นแข็งและแห้ง ซึ่งสภาพเช่นนี้จะทำให้กีบมีการบวม มีแผลตามสันกีบและซอกกีบ เชื้อแบคทีเรียจึงผ่านเข้าทางบาดแผล เกิดการอักเสบที่บริเวณกีบได้ โคที่เป็นโรคนี้จะมีน้ำสีดำๆ กลิ่นเหม็น ออกมาจากแผลปะปนในแปลงหญ้า พื้นคอก ทำให้โรคแพร่ระบาดไปยังโคตัวอื่นๆ ได้  โดยโคจะแสดงอาการเจ็บ ขา เดินกะเผลก สันกีบและซอกกีบบวมแดง มีแผลรูที่มีน้ำสีดำคล้ำไหลออกมากลิ่นเหม็นมาก มักพบในโคทุกอายุ แต่จะพบมากในโคที่มีอายุ แม่โคที่ กำลังให้นม น้ำนมจะลดลงกว่าปกติ  สำหรับ การตรวจวินิจฉัยนั้น สังเกตได้จากอาการและสภาพแวดล้อมทั่วๆ ไป เช่น พื้นคอก ฤดูกาลดูลักษณะของแผลที่บริเวณกีบและเพาะหาเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุ
          การรักษา ในระยะเริ่มแรกของโรคให้รักษาด้วยยาปฏิชีวนะ หรือซัลฟา เช่น เพนิซิลิน  10,000 ยูนิต/น้ำหนักสัตว์ 1 กิโลกรัม หรือ อ๊อกซี่เต็ทตร้าไซคลิน 1 ซี.ซี./น้ำหนักสัตว์ 10 กิโลกรัม หรือซัลฟาไดอะซิน ขนาด 150-200 มิลลิกรัม/น้ำหนักสัตว์ 1 กิโลกรัม ก็จะได้ผลดีแต่ถ้าบริเวณพื้นกีบอ่อนนุ่มมีแผลรู ควรล้างทำความสะอาดกีบ เปิดแผลให้กว้างตัดเอาเนื้อตายออกล้างแผลให้สะอาดอีกครั้งด้วยไฮโดรเจนเปอร์ ออกไซด์ แล้วใส่ยาชนิดครีมที่ผสมซัลฟาหรือยาปฏิชีวนะอื่นๆ หรือจะให้สัตว์เดินผ่านบ่อน้ำตื้นๆ ที่มี 5% คอปเปอร์ซัลเฟต หรือ 3% ฟอร์มาลิน ก็ได้ แล้วนำโคไปไว้ในคอกที่พื้นแห้งและสะอาด 
           การควบคุมและป้องกัน แยกโคที่แสดงอาการขาเจ็บ ออกจากฝูง ทำการรักษากีบที่เน่า ทำความสะอาดพื้นคอกถ้าเป็นคอนกรีต ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อปล่อยทิ้งไว้ให้พื้นคอกแห้ง ถ้าพื้นคอกที่เป็นดินควรเก็บกวาดอุจจาระออกให้หมด อย่าปล่อยให้หมักหมมพยายามทำให้พื้นคอกเรียบ เพื่อป้องกันน้ำขังโดยเฉพาะ    ในฤดูฝน และควรสังเกตสุขภาพของโคอย่างสม่ำเสมอ
          หาก เกษตรกรท่านใดสังเกตเห็นว่าสัตว์เลี้ยงของท่านมีอาการผิดปกติ หรือไม่แน่ใจว่าสัตว์เลี้ยงของท่านป่วยเป็นโรคข้างต้นหรือไม่ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดใกล้ บ้านท่าน  
                                  *******************************               
     ข้อมูล : สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์   สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ          
     เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ : น้องนุช  สาสะกุล  นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการ

วันศุกร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2553

โรคหางเปียก ในแฮมสเตอร์

สำหรับโรคหางเปียกเป็นโรคที่ไกล้เคียงกับท้องเสียมากครับ คือทั้งลักษณะอาการ ก็ไกล้เคียงกันแต่สำหรับผมเองคิดว่า น่าจะเป็น ตัวเดียวกันครับ โรคนี้ส่วนมากแล้วหนูที่เป็น หากพาไปหาหมอช้าอาจจะทำให้หนูเสียชีวิตได้ครับ แต่ถ้าหากรักษาได้ทันเวลา อย่างถูกต้องแล้วก็ ไม่น่าเป็นห่วงครับ


โรคหางเปียก เรามาดูอาการกันก่อนเลยครับ

อาการก็ จะมีสีเหลืองๆ บริเวณก้น ครับ จะเยอะ และ แฉะกว่าปกติครับ และก็ อาจจะมี เศษ อึ ติดอยู่ตาม

บริเวณกรง หรือว่าถ้วยอาหาร ครับ ตัวจะดูโทรมๆ ผอม ถ้ามีอาการหนักก็ จะเดินน้อย ครับ

สาเหตุการเกิดโรค

หนูที่เป็นโรคหางเปียก หรือว่า โรคท้องเสีย อาการส่วนใหญ่เกิดมาจาก ทางด้านอาหารและความเครียด

หรือรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม หรือ อุณหภูมิ รอบๆตัวอย่างกระทันหันครับ

โดยทั่วไป ถ้า พวกผักต่างๆ ที่เรานำมาให้เจ้าหนูแฮมสเตอร์นี่แล้ว เราควรทำความสะอาดล้างยาออก

ให้หมดก่อนครับเพระว่า เจ้าผัก นี้เราอย่าคิดนะครับ ว่าจะไม่มียา

ผักเกือบทุกชนิดนั้นมียา คือ ฉีดยาป้องกันพวกแมลง หรือ สารเคมีต่างๆ ที่เป็นอันตรายต่อตัว           เจ้าหนูแฮมสเตอร์ ครับ การเกิดโรคนี้ มีหลายสาเหตุ อยู่

นอกจากเรื่องของผักแล้ว ก็ยังมีเรื่องของความครียด ครับ โดยทั่วไป หนูแฮมสเตอร์ ก็สามารถเครียดได้เหมือนกันนะครับ

โดย อาการเครียด นี้อาจจะมาจากการ ที่เราไปรบกวนเขามาก อากาศร้อน + กับ อนามัยทาง

ด้านอาหารไม่ดี ก็อาจจะทำให้เกิดโรค

วิธีรักษา

วิธีรักษาเจ้าโรค นี้ก็ เพื่อนๆ สามารถ ซื้อยาแก้ท้องเสียเด็ก มาให้กินได้ครับ โดยให้ผสมกับน้ำที่ให้กิน

ผสม แบบเจือจางนะครับ ไม่ต้องผสมเข้ม มากครับ ให้เขาอยู่ที่มีอากาศที่ถ่ายเทได้สะดวก ให้อาหาร ที่

สะอาดหน่อย ไม่มี รา ขี้น หรือ เสีย งดอาหารพวกผัก

ถ้าไม่หายทำไง

ถ้าไม่หายก็ รีบพาไปพบแพทย์ เลยครับ โรคนี้่ อาจจะทำให้เจ้าแฮมสเตอร์ ของเพื่อนๆ จากไปได้ ครับ

ทางที่ดีควรพาไปหาหมอครับ

http://pets.hamstero...5%E0%B8%A2.html

ลำไส้อักเสบติดต่อ ของเจ้าตูบ

เชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข

โรคลำไส้อักเสบติดต่อ จากเชื้อไวรัส (canine viral enteritis หรือ cve )
เป็นโรคติดต่อที่ทำให้สุนัขเสียชีวิตมากที่สุด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
โดยเฉพาะสัตว์ที่ไม่ได้รับวัคซีน แล้วมีการติดเชื้อเป็นสาเหตุเกิดจากการติดเชื้อ
-ไวรัสพาโวไวรัส (รุนแรง)
-โคโลน่าไวรัส (ไม่รุนแรง)
-โรทาไวรัสหรืออาจติดเชื้อร่วมกัน ซึ่งจะทำให้อาการของโรครุนแรงยิ่งขึ้น (ติดเชื้อพาโวไวรัส ร่วมกับโคโรน่าไวรัส)

การติดต่อ
เกิดจากการ กินหรือเลียสิ่งคัดหลั่ง และสิ่งขับถ่ายจากสุนัข
ตัวที่เป็นโรค ได้แก่ อุจจาระ (มากที่สุด) , ปัสสาวะ , น้ำลาย
อาการ สุนัขจะไม่แสดงทันทีหลังติดเชื้อ ใช้เวลาฟักตัวนาน 3-7วัน
ซึ่งเป็นช่วงที่เชื้อเพิ่มปริมาณ ในร่างกายสัตว์ เมื่อสัตว์แสดงอาการ

อาการ
วันแรกที่แสดงออกคือซึม ไม่กินอาหาร อาเจียน เป็นอยู่ประมาณ 2 วัน
วันที่ 3จะเริ่มถ่ายออกมาเป็นเลือด ไข้สูง (หรือไข้ขึ้น ตั้งแต่วันแรกแล้ว)
อาการ ซึม ไม่กินอาหาร อาเจียน ยังมีอยู่ ตำแหน่งที่เชื้อไปอยู่ที่
ร่างกายสัตว์ที่สำคั* คือ ที่ เยื่อบุส่วนที่ทำหน้าที่ ดูดซึมอาหาร หรือ
ที่เรียกว่า วิลไล (villi) ได้แก่เชื้อโคโรน่าไวรัส
และโรทาไวรัส ส่วนเชื้อพาโวไวรัสจะอาสัยอยู่ที่ฐานของวิลไล
หรือที่เรียกว่า คริปท์ (crypt of liverkhun)
เฉพาะบางครั้งเวลาสุนัขเป็นโรคนี้ จะถ่ายออกมาเป็นมูก
หรือเป็นมูกแบบมีเลือด ปนเล็กน้อย อาการจะเป็นไม่รุนแรงยังร่าเริง
แสดงว่าสุนัขติดเชื้อ โรทา หรือโคโรนาไวรัส (หรือเชื้อชนิดไม่รุนแรงอื่นๆ เช่นเชื้อแบคทีเรียบางชนิด หรือโปรโตซัว )
ส่วนกรณีติดเชื้อพาโวไวรัส ร่วมด้วยจะพบว่ามีอาการสุนัขถ่ายเป็นเลือดสดๆ
และจะเป็นการติดเชื้ออย่างรุนแรง สัตว์ที่ไม่เคยทำวัคซีนมาก่อน
มักจะเสียชีวิต โดยเฉพาะสายพันธุ์ที่มีความไวต่อโรคนี้ ได้แก่ ดัลเมเชียล
ร๊อตไวเลอร์ พุดเดิ้ล ลาบราดอร์ อัลเซเชียน เป็นต้น ส่วนสุนัขไทย
มีความต้านทานต่อโรคนี้สูงกว่า

การักษา
ไม่มียารักษา สำหรับฆ่าเชื้อไวรัสทั้ง 3 ชนิด ที่กล่าวมาได้เลย
ไม่ว่าที่ไหนก็ต้องรักษาตามอาการเหมือนกัน ได้แก่ให้สารน้ำคือน้ำเกลือ
ยาบำรุง ยาแก้อาเจียน ยาเคลือยบลำไส้ยาปฏิชีวนะป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อน
สัตว์ตัวที่แข็งแรงมักตอบสนองต่อการรักษาดี ตัวที่หายมักใช้เวลา
เฉลี่ย 7 วัน ส่วนตัวที่ไวต่อโรคมักเสียชีวิตภายใน 3 วัน
หลังจากถ่ายเป็นเลือด การรักษาที่ดีที่สุดคือ
การให้น้ำเกลือเข้าทางเส้นเลือดดำ ร่วมด้วยการให้ยาฉีด
ซึ่งบางชนิดอาจฉีดวันละ 3- 4 ครั้งเช่นยาแก้อาเจียน ยาเคลือบลำไส้
เพราะฉะนั้น สุนัขที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีนี้จะมีโอกาสหายสูงกว ่า
สุนัขที่ได้รับน้ำเกลือทางเข้าผิวหนัง หรือไม่ได้รับน้ำเกลือเลย
โรคนี้มักเป็นในสุนัข 2 เดือน- 1 ปี
โดยเฉพาะสุนัขที่ไม่ได้ทำวัคซีนลำไส้อักเสบติดต่อมาเ ลย
เนื่องจากสุนัขอายุน้อยไวต่อโรคมากกว่าสุนัข โต หรืออายุมาก
แต่สุนัขโตก็มี

การป้องกัน
โดยการทำวัคซีนป้องกันโรคลำไส้อักเสบติดต่อ จากเชื้อพาโวไวรัส
วัคซีนบางยี่ห้อ มีป้องกันโคโรน่าไวรัสด้วย
แต่อย่างน้อยต้องป้องกันเชื้อพาโวไวรัสได้

เนื่องจากเชื้อโคโรน่าไวรัสเป็นแล้วรักษาหาย แต่ถ้าติดเชื้อพาโวไวรัส
เปอร์เซนต์การตายสูงมาก โดยเฉพาะสัตว์สายพันธุ์ที่ไวต่อโรค
และสัตว์ที่อ่อนแอ หรือสัตว์ที่เป็นพยาธิร่วมด้วย เช่นพยาธิปากขอ
หรือพยาธิไส้เดือน การฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ เริ่มฉีดตั้งแต่สุนัขอายุได้
45 วัน แต่ถ้าสุนัขอายุ 2 เดือนขึ้นไปแล้วมักฉีดใน รูปของวัคซีนรวม
ที่ประกอบด้วย โรคลำไส้อักเสบ ไข้หัดสุนัข ตับอักเสบและโรคเลปโตสไปโรซีส
(ฉี่หนู) อยู่ในเข็มเดียวกัน อยู่ในเข็มเดียวกัน แต่การฉีดนั้นต้องฉีด 2
ครั้ง ห่างกัน 1เดือน

เพื่อกระตุ้นให้ภูมิคุ้มกันสูงเพียวพอที่จะป้องกันโร ค
และหลังจากนั้นฉีดปีละครั้ง
นอกจากการทำวัคซีนแล้วการฆ่า เชื้อบริเวณคอก หรือกรงสัตว์เลี้ยง
ช่วยควบคุมการแพร่โรคได้ แต่ต้องใช้น้ำยาฆ่าเชื้อที่มีส่วนผสมของสาร

โซเดียม ไฮโปคลอไรท์
ซึ่งสารดังกล่าวมีอยู่ในน้ำยาซักผ้าขาว ไฮเตอร์
อาจเทใส่ ฟอกกี้ แล้วฉีดพ่นกรง แล้วนำกรงไปตากแดดหรือใช้ราดบริเวณคอกได้
ส่วนยาฆ่าเชื้ออื่นๆเช่น เดทตอล หรือ แอลกอฮอล์ ไม่สามารถฆ่าเชื้อพาโวไวรัสได้
สุนัขตัวที่เป็นโรคเมื่อถ่ายอุจจาระออกมาแล้ว เชื้ออยู่ได้นาน 5- 6 เดือน
ในสิ่งแวดล้อมโดยที่เชื้อไม่ตาย โรคนี้ถึงพบได้บ่อย พบได้ตลอดปี
แต่ช่วงฤดูฝนพบบ่อยที่สุด เนื่องจากเชื้อกระจายได้ง่าย
สาเหตุที่ทำให้โรคนี้ติดต่อและระบาดได้ ทั่วไปคือ
สุนัขจนจัด และ สัตว์อายุมาก ที่เป็นแหล่งอมโรค
คือมีเชื้อในร่างกาย แต่ไม่แสดงอาการของโรค
เนื่องจากทนต่อโรคมากกว่าลูกสุนัข
บางครั้งพบว่าการที่สุนัขบางตัวชอบเลียรองเท้า ก็สามารถเกิดโรคได้
ทั้งที่ไม่เคยออกนอกบ้านเลย เนื่องจากเจ้าของเดินไปเหยียบย่ำที่ต่างๆ
อาจมีเชื้อปนเปื้อนอยู่


---------------------------------------------------------------------------------------- โรคลำไส้อักเสบติดต่อ จากเชื้อไวรัส

การเกิดลำไส้อักเสบในสุนัขมีหลายสาเหตุ เช่น พยาธิ เชื้อแบคทีเรีย โปรโตซัว และไวรัส แต่ที่รุนแรงและอันตรายเกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งติดต่อโ ดยทางอาหารหรือการปนเปื้อนจากอุจจาระของสุนัขป่วย โดยไวรัสจะเข้าไปทำลายผนังทางเดินอาหารทำให้เกิดแผลล อกหลุดการย่อยและดูดซึมอาหารสู*เสียไป

อาการหลัก ที่พบคือ อาเจียนและซึมมาก ไม่กินอาหารเลยกินแต่น้ำ ในระยะท้ายจะถ่ายเป็นมูกเลือด กลิ่นเหม็นคาวจัด ส่วนมากพันธุ์โดเบอแมน,ดัลเมเซียนโดยเฉพาะรอทไวเลอร์ จะมีอาการรุนแรงมากกว่าพันธุ์อื่น

โรคไวรัสลำไส้อักเสบในสุนัขเกิดจากเชื้อไวรัส 3 ชนิดเรียงลำดังตามความรุนแรงดังนี้คือ
1. เชื้อพาร์โวไวรัส (canine parvovirus)
2. เชื้อโคโรน่าไวรัส (canine coronavirus)
3. เชื้อโรต่าไวรัส (rotavirus)
อาการของสุนัขที่ติดเชื้อไวรัสทั้ง 3 ชนิด จะคล้ายคลึงกัน ต่างกันเพียงความรุนแรง และลักษณะการเกิดโรค

1. เชื้อพาร์โวไวรัส

เป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข แบบเฉียบพลันและรุนแรงมากกว่าเชื้อไวรัสชนิดอื่น ๆ การติดเชื้อพาร์โวไวรัสสามารถเกิดกับสุนัขทุก ๆ ช่วงอายุ แต่ในลูกสุนัขอายุ 4-6 เดือนจะมีความไวต่อการติดเชื้อ อาการของโรคจะรุนแรงมาก นอกจากนี้ยังพบว่าสุนัขบางสายพันธุ์ เช่น ร็อตไวเลอร์ โดเบอร์แมนพิชเชอร์ พิตบลูเทอเรีย เยอร์มนเชิพเพอร์ด และ ลาบาดอร์รีทรีฟเวอร์ มีความไวต่อเชื้อนี้สูงกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ และพบว่าลูกสุนัขที่ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้สูง เนื่องจากไม่มีการรักษาอย่างเฉพาะเจาะจง

การติดต่อ

โดยการกินเชื้อไวรัสที่ออกมากับอุจจาระและปนเปื้อนใน อาหาร น้ำหรือ สิ่งแวดล้อม (เชื้อพาร์โวไวรัสจะคงทน และมีชีวิตอยู่ในสิ่งแวดล้อมนานหลายเดือน)

กลไกการติดเชื้อ

ระยะฟักตัวของเชื้อ (ติดเชื้อโดยไม่มีการแสดงอาการ) นาน 4-7 วัน จากนั้นเชื้อไวรัสจะแพร่กระจาย ไปยังอวัยวะเป้าหมาย เช่น เนื้อเยื่อของลำไส้ ไขกระดูก และต่อมน้ำเหลือง และจะมีการแบ่งตัวทำอันตรายอวัยวะเหล่านั้น โดยทำให้เซลล์ของลำไส้เสียหาย ตายและลอกหลุดไป ทำให้สุนัขท้องเสียแบบรุนแรงและมีเลือดปน มีไข้สูง นอกจากนี้เชื้อไวรัสยังทำลายและกดไขกระดูก ทำให้ระดับเม็กเลือดแดงและเม็ดเลือดขาวลดลงร่วมกับกา รทำอันตรายระบบน้ำเหลือง ทำให้สุนัขจะมีภาวโลหิตจางและภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ ำ

2. เชื้อโคโรน่าไวรัส

เชื้อโคโรน่าไวรัสทำให้เกิดลำไส้อักเสบติดต่อในสุนัข ได้แบบเฉียบพลับเช่นเดียวกับพาร์โวไวรัส แต่ความรุนแรงของโรคน้อยกว่า ไวรัสชนิดนี้จะเข้าไปแบ่งตัวและทำลายเนื้อเยื่อของลำ ไส้ เป็นผลทำให้เซลล์ของลำไส้ถูกทำลาย ลอกหลุด ฝ่อตัวและบางส่วนจะตายลง เป็นเหตุให้สุนัขท้องเสียรุนแรง มีเลือดปน โดยที่เชื้อโคโรน่าไวรัสจะมีการติดต่อ อาการและกลไลการเกิดโรคล้าย ๆ กับพาร์โวไวรัส เพียงแต่จะไม่ทำให้เกิดไข้สูง ไม่ทำให้ระดับเม็ดเลือดขาวต่ำ และไม่มีอันตรายถึงแก่ชีวิตถ้าหากได้รับการรักษาอย่า งทันท่วงที

3. เชื้อโรต่าไวรัส

เชื้อโรต่าไวรัสเป็นเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดท้องเสียไ ด้ทั้งในมนุษย์ และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รวมทั้งนก แต่พบว่าในสุนัขจะมีการติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ค่อยข้าง น้อย และอาการไม่รุนแรง และจากการศึกษายังพบว่าสุนัขร้อยละ 79 ที่ติดเชื้อไวรัสนี้สามารถหายได้เอง โดยไม่ต้องได้รับการรักษา ถ้าหากไม่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน

การวินิจฉัยโรค


1. ประวัติการทำวัคซีน อาการของโรค

2. ตรวจอุจจาระ เพื่อวินิจฉัยแยกแยะออกจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อโปรโตซัว พยาธิในลำไส้ฯ

3. ตรวจโลหิตวิทยา เพื่อดูระดับของเม็ดเลือดแดงและเม็ดเลือดขาว

4. ตรวจค่าเคมีในเลือด และระดับอิเลคโตรไลท์

5. เอ็กซ์เรย์ช่องท้อง เพื่อวินิจฉัยแยกแยะการอุดตัน ของสิ่งแปลกปลอมในทางเดินอาหาร ลำไส้บิด หรือลำไส้กลืนกัน

6. การตรวจหาเชื้อไวรัสในอุจจาระ ซึ่งในปัจจุบันมีชุดตรวจพิเศษซึ่งสามารถตรวจหาเชื้อพ าร์โวไวรัสได้

การรักษา

การรักษาลำไส้อักเสบติดต่อนั้นไม่มีการรักษาแบบเฉพาะ เจาะจง จึงมีเพียงการรักษาแบบพยุงอาการ และควบคุมการติดเชื้อแทรกซ้อน ดังนี้ คือ

1. การให้น้ำ สารอาหาร และแร่ธาตุอิเลคโตรไลท์เข้าทางหลอดเลือดดำ ใต้ผิวหนัง และทางปาก เพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำ สารอาหารและแร่ธาตุ เนื่องมาจากสัตว์เบื่ออาหารร่วมกับอาการถ่ายเหลว และอาเจียน

2. ยาปฎิชีวนะ ควบคุมการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน

3. การจัดการด้านโภชนาการ ในระยะแรกที่สัตว์มีอาเจียนและถ่ายเหลวมาก ๆ ควรมีการงดน้ำงดอาหารทางปากอย่างน้อย 24 ชั่วโมง โดยการให้สารอาหารเข้าทางกระแสเลือดทดแทน เพื่อให้ทางเดินอาหารได้พัก และปรับสภาพ หลังจากนั้นค่อยให้สุนัขรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย โดยแบ่งให้ครั้งละน้อย ๆ แต่บ่อยครั้ง ยกตัวอย่างเช่น เนื้อไก่ส่วนที่ไม่มันต้อมหรือคลุกกับข้าว หรืออาหารสำเร็จรูปที่มีขายเช่น Hill prescription i/d และ Waltham intestinal formula จนกระทั่งการทำงานของลำไส้กลับมาเป็นปกติ จึงกลับมารับประทานอาหารตามปกติ

4. ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน และยาลดกรดในทางเดินอาหาร เพื่อลดการสู*เสียน้ำและอิเลคโตรไลท์ และลดการระคายเคืองของทางเดินอาหารส่วนต้น เนื่องจากน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร

5. ยาแก้ท้องเสีย โดยทั่วไปแล้วมักไม่นิยมใช้กับการท้องเสียเนื่องมาจา กการติดเชื้อ

6. การให้เลือด ในกรณีที่มีการถ่ายเหลวแบบมีมูกเลือดรุนแรง เป็นเหตุให้มีภาวะโลหิตจางตามมา

การป้องกันโรค

การทำวัคซีนป้องกันโรค เป็นวิธีที่ดีที่สุดในปัจจุบันนอกจากนั้นอาจแยกสัตว์ ป่วยออกจากตัวอื่น ๆ ในฝูงเพื่อลดการติดเชื้อ รวมทั้งมีการจัดการที่ดีเก็บล้างทำความสะอาด อุจจาระและบริเวณที่สัตว์นอน

---------------------------------------------------------
ขอขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูลดีๆๆ

- "โรคลำไส้อักเสบ" โดย สัตวแพทย์ อิทธิเดช วิเชียรรัตน์ (http://pitbullzone.com/community/com...cussionID=6120)
- ร.พ. สัตว์สุวรรณชาด

ไข้หัดสุนัข อันตรายของเจ้าตัวน้อย

ไข้หัดสุนัข

          โรคไข้หัดสุนัขหรือที่เรียกว่า Canine Distemper (CD) เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หัดสุนัข Canin Distemper Virus (CDV) ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Morbillivirus ทำให้เกิดโรคได้ในสุนัขและสัตว์อื่นที่อยู่ในตระกูลเดียวกันกับ สุนัข เช่น สุนัขป่า มิ้งค์ สกั๊งค์ แรคคูณและ เฟอร์เร็ท ซึ่งสัตว์เหล่านี้มักจะเป็นตัวพาหะนำโรคมาสู่สุนัขบ้าน

          ไข้หัดสุนัข เป็นโรคติดเชื้อที่พบอาการได้ทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง ทั้งในระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาท และผิวหนัง โดยการเกิดโรคมักจะรุนแรง อัตราการตายสูง โดยเฉพาะในลูกสุนัขอายุระหว่าง 6-12 สัปดาห์ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีความไวต่อไวรัสชนิดนี้

สาเหตุของโรค

          ไข้หัดสุนัขเกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Morbillivirus ซึ่งเป็น RNA virus เชื้อจะถูกทำลายได้ง่ายเมื่อถูกความร้อน แสงแดด อากาศแห้ง และน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในกลุ่มอีเทร์ ฟีนอล คลอโรฟอร์ม และคลอไรด์

การติดเชื้อ

          การ ติดเชื้อไข้หัดสุนัข ที่สำคัญมากที่สุดคือ การหายใจเอาเชื้อที่ปะปนในอากาศเข้าไป นอกจากนั้นยังพบว่าสามารถติดต่อ ได้จากการสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย น้ำตา หรือสิ่งคัดหลั่งอื่นๆ โดยตรง แต่ ยังไม่มีรายงานว่าสามารถติดต่อได้โดยการกิน  หลังจากสุนัขได้ รับเชื้อเข้าไปในร่างกายแล้ว เชื้อไวรัสจะเข้าไปฟักตัวอยู่ที่ทอนซิล และต่อมน้ำเหลืองในบริเวณทางเดินหายใจส่วนต้น

          ระยะฟักตัวของโรคในสุนัขเฉลี่ยประมาณ 7-14 วัน โดยในระยะนี้เราอาจไม่พบความผิดปกติต่อตัวสุนัข หลังจากนั้นก็จะมีการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสไปทั่วร่างกาย โดยผ่านทางเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (Iymphocyte) โมโนไซด์ (Monocyte) รวมทั้งแมกโครฟาจ์ (Macrophage) ทำให้เกิดการติดเชือในระบบน้ำเหลือง และกดภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ร่างกายอ่อนแอติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ง่าย รวมทั้งตัวไวรัสเองเข้าทำลายเซลล์เยื่อบุต่าง ๆ ของร่างกายจึงมักพบว่าสุนัขป่วย มักจะติดเชื้อได้หลายๆ ระบบร่วมกัน เช่น ระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบผิวหนัว และระบบประสาท

อาการของโรค

          1. มีไข้สูง ซึม อ่อนแรง เบื่ออาหาร พบได้ในระยะแรกที่มีการฟักตัวของโรค

          2. ระบบทางเดินหายใจ พบน้ำมูก น้ำตาไหล ไอ จาม หายใจลำบาก ถ้าพบว่ามีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน น้ำมูกน้ำตาที่พบก็จะมีลักษณะขุ่นข้น

          3. ระบบทางเดินอาหาร มักจะพบว่าสุนัขมีอาเจียน และท้องเสีย แต่อาการจะไม่รุนแรงเหมือนการติดเชื้อลำไส้อักเสบ

          4. ระบบผิวหนัง พบว่าสุนัขจะมีตุ่มหนองกระจายตามตัว โดยจะพบมากบริเวณใต้ท้อง นอกจากนั้นในสุนัขที่มีการติดเชื้อแบบเรื้อรังจะพบว่ าผิวหนังบร ิเวณอุ้งเท้าจะหนาตัวขึ้นมากกว่าปกติ (hard pad)

          5. ระบบ ประสาท เมื่อเชื้อไวรัสกระจายเข้าสู่ก้านสมองและสมอง สุนัขจะไม่รู้สึกตัว ชัก กระตุม ควบคุมการเคลื่อนไหวของตัวเองไม่ได้ อาการที่พบบ่อย ๆ คือสุนัขจะเกร็ง งับปาก (gum chewing)

การวินิจฉัย

          1. ประวัติ และอาการของสัตว์ป่วย

          2. ตรวจเลือด ดูภาวะติดเชื้อไวรัสในกระแสเลือด ซึ่งเป็นการตรวจที่ไม่เฉพาะเจาะจง และอ่านผลเลือดได้ไม่แน่นอน

          3. การตรวจทางเซลล์วิทยา ย้อมสีดู Inclusion body ซึ่งมีความแม่นยำน้อย และไม่นิยมในปัจจุบัน

          4. การตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันหรือแอนตี้บอดี้ของร่างกายที่มีต่อเชื้อไวรัส แต่การแปรผลอาจจะผิดพลาด ถ้าหากว่าสุนัขมีภูมิคุ้มกันที่ถ่ายทอดมาจากแม่ หรือได้รับภูมิคุ้มกันจากการทำวัคซีน

          5. การ ตรวจหาเชื้อไวรัสโดยตรงในกระแสเลือด น้ำมูก น้ำตา และสิ่งคัดหลั่งต่างๆ วิธีนี้จะมีความแม่นยำสูงเป็นที่ยอมรับในปัจจุบัน และมีค่าใช้จ่ายสูง

การรักษา

          ยังไม่มียาต้านไวรัสชนิดใดที่จะใช้ในการรักษาโรคไข้หัดสุนัขได้ ผล การรักษาจะเป็นการรักษาตามอาการและป้องกันการติดเชื้ อแทรกซ้อน ดังนี้คือ

          1. ให้ยาปฎิชีวนะ ควบคุมการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน

          2. ให้น้ำเกลือ และสารอาหารเข้าทางหลอดเลือดดำ เพื่อแก้ไขภาวะขาดน้ำและสารอาหาร

          3. ให้ออกซิเจนในกรณีที่สุนัขมีอาการหายใจลำบาก ขาดออกซิเจนเนื่องจากเกิดปอดบวม (pheumonia)

          4. ให้ยาสงบประสาท หรือยาแก้ชัดในกรณีที่สุนัขมีอาการทางประสาทเนื่องจา กเชื้อไวรั สเข้าสู่สมอง

การป้องกัน

          1. แยกเลี้ยงสุนัขที่ไม่ทราบประวัติวัคซีนประมาณ 2 สัปดาห์ ก่อนนำมาเข้ากลุ่ม

          2. ให้วัคซีนในลูกสุนัข โดยลูกสุนัขในกลุ่มเสี่ยงต่อการติเชื้อไข้หัดสุนัข สามารถทำวัคซีนนได้ตั้งแต่อายุ 1 1/2 เดือน ส่วนลูกสุนัขโดยทั่วไปจะทำวัคซีนได้ในอายุ 2 เดือน หลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ควรฉีดวัคซีนกระตุ้นซ้ำเพื่อให้ระดับภูมิคุ้ม กันสูงพอที่จะป้องกันโรคได้ หลังจากนั้นควรจะทำวัคซีนไข้หัดสุนัขซ้ำทุกๆ ปี โดยในปัจจุบันได้มีการพัฒนานำวัคซีนไข้หัดสุขไปรวมกับวัคซีนป้องกันโรคชนิด อื่นๆ เช่น ลำไส้อักเสบ ตับอักเสบ เลปโตสไปโรซิส หวัด-หลอดลมอักเสบติดต่อ และพิษสุนัขบ้า เพื่อความสะดวก และจดจำง่าย