จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ลูกหมูท้องเสีย

ลูกหมูท้องเสียเกิดจากอะไรได้บ้าง

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าใน อุตสาหกรรมการผลิตสุกร ลูกสุกรถือเป็นผลผลิตที่เป็นดัชนีสำคัญที่ใช้เป็นตัวชี้วัดประสิทธิภาพการ ผลิตของฟาร์ม ดังนั้นการเลี้ยงเพื่อให้ได้จำนวนลูกสุกรต่อแม่ต่อปีที่มากนั้น ผู้เลี้ยงต้องดูแลเอาใจใส่เป็นอย่างมาก เนื่องจากลูกสุกรแรกเกิดนั้นระบบภูมิคุ้มกันต่อโรคยังเจริญพัฒนาไม่เต็มที่ ดังนั้นการจัดการเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่อลูกสุกรแรกเกิดจึงเป็น สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้ฟาร์มลดการสูญเสียจำนวนลูกสุกรลงได้
ในฉบับนี้ผู้เขียนจึงขอกล่าวถึงอาการหรือโรคที่เป็นปัญหา สำคัญและพบได้บ่อยมากในลูกสุกรดูดนม นั่นคือ อาการท้องเสีย เนื่องจากท้องเสียในลูกสุกรดูดนมนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ ส่วนมากมักเกิดจาก เชื้ออีโคไล (Colibacilosis) , การได้รับน้ำนมไม่เพียงพอ ,โรคทีจีอี (TGE; Transmissable gastroenteritis), ท้องเสียจากเชื้อคลอสตริเดียม (Clostridial enteritis) , โรคบิดมีตัว (Coccidiosis) และ ท้องเสียจากเชื้อไวรัสโรตา (Rotaviral enteritis) ซึ่งโรคเหล่านี้ลูกสุกรจะแสดงอาการท้องเสียเป็นหลัก และแต่ละโรคนั้นจะมีอัตราการป่วยและอัตราการตายที่แตกต่างกันออกไป โดยพบว่า สาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสจะทำให้ลูกสุกรแสดงอาการอย่างรวดเร็ว และสร้างความเสียหายที่รุนแรงกว่าการท้องเสียจากเชื้อแบคทีเรีย โดยสาเหตุของการท้องเสียในลูกสุกรนั้น สามารถสรุปได้ดังนี้
1. ท้องเสียจากเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่ เชื้ออีโคไล(Colibacilosis), เชื้อคลอสตริเดียม(Clostridial enteritis)
2. ท้องเสียจากเชื้อไวรัส ได้แก่ โรคทีจีอี (TGE; Transmissable gastroenteritis), โรคพีอีดี(PED; Porcine epidemic diarrhea) ,โรคพีอาร์อาร์เอส (PRRS) และ เชื้อไวรัสโรตา (Rotaviral enteritis)
3. ท้องเสียจากเชื้อโปรโตซัว ได้แก่ โรคบิดมีตัว (Coccidiosis)
4. ท้องเสียที่เกิดจากการจัดการ ได้แก่ อุณหภูมิต่ำ, ลมโกรก, ความชื้นสูง, ปริมาณน้ำนมไม่เพียงพอ
อาการที่แสดง (Clinical signs)
โดยทั่วไปลูกสุกรสามารถแสดงอาการท้องเสียได้ตลอดช่วงดูดนม แต่พบว่ามี 2 ช่วงที่พบอาการท้องเสียได้สูงมากในลูกสุกร คือ ช่วงแรกเกิดถึง 5 วัน และช่วง 7-14 วัน โดยอาการที่แสดงแบ่งออกได้ดังนี้
1. ชนิดเฉียบพลัน ( Acute Disease )
อาการท้องเสียแบบเฉียบพลัน มักจะพบว่าลูกสุกรที่สุขภาพดีจะตายก่อน เมื่อนำไปผ่าซากจะพบการอักเสบแบบรุนแรงของลำไส้ (Severe acute enteritis)ในขณะที่ไม่พบอาการท้องเสียใดๆ หรือบางครั้งอาจพบว่าลูกสุกรมีการนอนสุมกันและมีอาการตัวสั่น อาจพบว่าบริเวณหางและรูทวารเปียก บริเวณคอกมีกลิ่นเหม็นคาว ลูกสุกรตัวแห้งเนื่องจากภาวะขาดน้ำ และอาจพบอุจจาระได้ตั้งแต่สีขาวจนถึงสีส้มตามบริเวณคอกและในบางครั้งอาจพบ ว่าก่อนลูกสุกรตายจะแสดงอาการชักแบบหมุนและมีน้ำลายฟูมปากได้
2. ชนิดกึ่งเฉียบพลัน (Subacute disease)
อาการท้องเสียแบบกึ่งเฉียบพลันนั้นจะคล้ายกับแบบแรก แต่มักจะมีความรุนแรงน้อยกว่าและมีอัตราการตายที่ต่ำกว่า โดยอาการท้องเสียแบบกึ่งเฉียบพลันนี้มักจะพบในลูกสุกรที่มีอายุระหว่าง 7-14 วัน และมักจะพบว่าอุจจาระมีลักษณะเป็นน้ำจนถึงเป็นครีมและบ่อยครั้งพบว่ามีสีขาว ปนเหลือง
ภาพที่ 1 แสดงอาการท้องเสียในลูกสุกร
ภาพที่ 2 แสดงลักษณะอุจจาระสีเหลืองครีมข้น มีฟอง
การวินิจฉัย (Diagnosis)
การวินิจฉัยสาเหตุของอาการท้องเสียของลูกสุกร อาศัยการซักประวัติที่ครบถ้วน การสังเกตอาการผิดปกติ การผ่าซาก การตรวจทางห้องปฏิบัติการโดยการเพาะเชื้อจากการทำ rectal swab และการวินิจฉัยโดยดูการตอบสนองต่อการรักษา ซึ่งบ่อยครั้งพบว่าอาการผิดปกติที่ปรากฏนั้นอาจเกิดมาจากหลายๆ โรค ไม่ใช่เพียงแค่โรคเดียว ดังนั้นควรเก็บรวบรวมข้อมูลหลายๆด้านมาประกอบกัน เพื่อการวินิจฉัยที่ถูกต้อง โดยสาเหตุหลักของการเกิดอาการท้องเสียในลูกสุกรนั้นได้กล่าวไปแล้วในข้างต้น ว่าสามารถเกิดจากอะไรได้บ้าง ในส่วนของช่วงอายุของการเกิดท้องเสียนั้นก็เป็นข้อมูลหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ ประกอบการวินิจฉัยได้ดังตารางที่ 1 ถ้าหากว่าลูกสุกรแสดงอาการท้องเสียในวันแรกหรือวันที่ 2 หลังคลอด มักจะเกิดจากเชื้ออีโคไล หรือลำไส้อักเสบจากเชื้อคลอสตริเดียม(Clostridial enteritis) แต่ถ้าลูกสุกรแสดงอาการท้องเสียเมื่อ อายุ 5-7 วัน มักจะเกิดจากโรคลำไส้อักเสบจากเชื้อบิดมีตัว (Coccidiosis) ส่วนอาการท้องเสียที่เกิดจากเชื้อไวรัสโรตา(Rotaviral enteritis) มักเกิดในลูกสุกรที่อายุมากกว่า 1 สัปดาห์ เป็นต้น
ตารางที่ 1 แสดงสาเหตุหลักของอาการท้องเสียในลูกสุกรดูดนมตามช่วงเวลาการเกิดโรคหลังคลอด
สาเหตุหลักของอาการท้องเสียในลูกสุกรดูดนม
ระยะแรก(วัน)
ระยะท้าย(วัน)
อัตราการตายของลูกสุกร

0-3
3-7
7-14
15-21

ภาวะน้ำนมแห้ง
/
/
/
/
ปานกลาง
เชื้อคลอสตริเดียม
/
/
/

สูง
โรคบิด
/
/
/
ต่ำ
อีโคไล
/
/
/

ปานกลาง
พีอีดี
/
/
/
/
สูง
พีอาร์อาร์เอส
/
/
/
/
ไม่แน่นอน
เชื้อไวรัสโรตา

/
/
ต่ำ
โรคทีจีอี
/
/
/
/
สูง

อาการท้องเสียนอกจากจะเกิดจากการติดเชื้อแล้วยังสามารถเกิดได้จากปัจจัย ด้านการจัดการและสิ่งแวดล้อม ในลูกสุกรมี 2 ปัจจัยที่ต้องควบคุมเป็นพิเศษคือ อุณหภูมิของสิ่งแวดล้อมและการใช้ประโยชน์ได้ของน้ำนม ลูกสุกรแรกคลอดต้องการอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 33 องศาเซลเซียส ถ้าหากลูกสุกรอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีอุณหภูมิต่ำจะลดความสามารถในการต่อต้าน การติดเชื้อ ดังนั้นในสภาวะนี้แม้มีเชื้อจุลชีพจำนวนไม่มากก็สามารถก่อให้เกิดโรคได้และ ในลูกสุกรที่มีอาการหนาวสั่นเนื่องจากอากาศเย็นจะลดการบีบตัวของลำไส้ ความชื้นและน้ำที่ขังอยู่บนพื้นคอกจะเอื้อต่อการเจริญเติบโตและการคงอยู่ของ แบคทีเรียที่ก่อโรค
การที่ลูกสุกร ได้รับน้ำนมในปริมาณที่ไม่เพียงพอ จะทำให้ลูกสุกรไม่ได้รับภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ในน้ำนมและไม่สามารถนำน้ำนมไป สร้างเป็นพลังงานเพื่อให้ความอบอุ่นกับร่างกาย ดังนั้น จึงเสี่ยงต่อการเกิดอาการท้องเสียได้
นอกจากนี้สาเหตุ การติดเชื้อในลำไส้ของแม่สุกรมักจะเป็นคนละสาเหตุกับลูกสุกร ยกเว้น โรคทีจีอี และ โรคพิษสุนัขบ้าเทียม (AD; Aujeszky’s disease) ซึ่งมักจะพบว่าแม่สุกรมีอาการท้องเสียพร้อมกับมีอาการอาเจียนร่วมด้วย
ดังนั้นเมื่อผู้ เลี้ยงได้ทราบว่าอาการท้องเสียในลูกสุกรสามารถเกิดได้จากสาเหตุอะไรได้บ้าง แล้ว ขั้นตอนต่อมาผู้เลี้ยงก็จำเป็นต้องทราบว่าจะทำอย่างไรจึงจะสามารถรักษาและ ป้องกันการเกิดโรคและจะกำจัดโรคนี้ออกจากฟาร์มไปได้อย่างไร ซึ่งการรักษาโดยการใช้ยาเพียงอย่างเดียวนั้น ปัจจุบันพบว่าไม่เพียงพอที่จะรักษาและป้องกันการเกิดโรคได้ การจัดการด้านการเลี้ยงและด้านสิ่งแวดล้อมที่ดีจะเป็นอีกส่วนหนึ่งที่เข้ามา มีบทบาทสำคัญและควรให้ความเอาใส่ใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากว่าลูกสุกรที่มีคุณภาพดีนั้นก็ต้องมาจากการเลี้ยงในสิ่งแวดล้อมที่ ดีเช่นเดียวกัน
เอกสารอ้างอิง Straw Barbara E, Allaire Sylvie D, Mengeling William L, Taylor David J. Diseases of swine. 8th edition. Iowa state university press : USA. 1999.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น