จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553

มารูจักโรคนก สำหรับคนเลี้ยงนกครับ

โรคชนิดต่างๆที่เกิดกับนก

      โรคซิททาโคซิส(Psittacosis) หรือที่เรียกว่า “โรคนกแก้ว” โรดนี้จะเริ่มแสดงกับนกให้เห็นชัดเจนคือ มีการเบื่อ
อาหาร ซึม ขนฟู  ลูกตาไม่แจ่มใส ต่อมาจะมีอาการหวัด น้ำมูกไหล และท้องร่วง หากเป็นร้ายแรงสัตว์จะตายใน 3 – 4 วัน หลังจากเริ่มอาการ นอกจากนี้แล้วโรคนี้จะติดต่อถึงคนด้วย
       การป้องกันรักษา ที่ได้ผลแน่นอนในเวลานี้นิยมใช้ Antibiotic เช่น ออริโอมัย-เทอร์มัยซิน หรือซัลฟา เมทราลิน วิธีการรักษาควรรักษาเป็นขั้น ๆ โดยเริ่มจากการแก้ท้องเสีย แล้วให้ยาเจริญอาหาร จากนั้นจึงมาใช้ Antibiotic ในบางกรณีเราต้องให้พวก Antibiotic ก่อน แล้วจึงแก้เรื่องท้องเสียก็ได้
       อย่างไรก็ดี โรคนี้ปัจจุบันสามารถควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง มีการตรวจกักกันโรคนกที่นำเข้า จะมีก็เป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้น

       โรคเชื้อรา(Asperggillosis)       โรคชนิดนี้เกิดจากเชื้อราชนิด  Asperggillus อันเป็นชื้อราหรือ Fungi เล็ก ๆ จากสารวัตถุผุพังชนิดอื่น ๆ ลักษณะของเชื้อโรคนี้คล้ายเห็ดรา ปรากฏเป็นหย่อมอยู่ในหลอดลม นกที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีอาการเชื่อง หงอย กินอาหารไม่ค่อยได้ มีขนพอง ระบบการหายขัด มีเสียงครืดคราดในลำคอคล้ายอาการของโรคหืด หรือโรคหลอดลมอักเสบ นับเป็นโรคที่แพร่หลายติดต่อกันได้รวดเร็วทางน้ำ และร้ายแรงมาก อาจทำให้นกตายได้
       การป้องกันรักษา ถ้านกเป็นในระยเริ่มต้น หรือยังไม่พบเชื้อราอาจใช้วิธีบำบัดง่าย ๆ โดยหยดกลีเซอรีน(Glycerrin) หรือทิงเจอร์ไอโอดีน(Tincture of Iodine) เล็กน้อยลงในน้ำดื่ม
( 2 – 3 หยด หรือ 5 – 6 หยด แล้วแต่ปริมาณของน้ำ) ทุกวันจนอาการนั้นหาย และโรครานี้มักจะเกิดจากเมล็ดข้าว อาหารที่หมักหมมสกปรก จึงควรระมัดระวังในคุณภาพและความสะอาดของข้าวนั้น ๆ ตามสมควร จะช่วยป้องกันโรคได้ระดับหนึ่ง

       โรคอหิวาต์(Fowl Cholera)       โรคอหิวาต์นี้ไม่ใช่เฉพาะจะเป็นกับเป็ดไก่เท่านั้น นกก็เป็นโรคนี้กันมากเหมือนกัน สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเกิดจากเชื้อพลาสเจอเรลล่า เอวิซิดา(Pasteurella avicida) เชื้อนี้มีอยู่ในอุจจาระของนกป่วย และระบาดติดต่อกันไปได้หลายทาง เช่น แมลงวัน เป็นตัวนำติดไปกับอาหาร น้ำ ติดไปกับภาชนะต่าง ๆ ที่ใช้ในการเลี้ยงดูนก ติดไปกับมือของผู้เลี้ยง 
เมื่อเชื้อโรคนี้เข้าสู่ร่างกายของ นกแล้ว จะแสดงอาการให้เห็นได้ภายใน 1 – 3 วัน โดยน้ำพิษ(Toxin) จากตัวเชื้อจุลินทรีย์จะเจริญตัวอยู่ในโลหิตของนกป่วย จะถูกนำไปยังอวัยวะต่าง ๆ โดยกระแสโลหิต ทำให้โลหิตภายในเกิดเป็นพิษ ถ้าเป็นอย่างชนิดร้ายแรงนกจะตายทันทีโดยไม่สังเกตเห็นอาการ
ส่วนในรายที่เป็นอย่างเรื้อรัง ระยะการเป็นโรคจะยาวกว่า อาการเด่นชัด ที่สังเกตเห็นได้จากนกป่วยที่เป็นโรคนี้ก็คือ อาการท้องเดิน อุจจาระเป็นสีขาวหรือสีน้ำตาลปนเขียว มีอุจจาระติดก้น ในปากและลำคอมีน้ำลายเหนียว หายใจหอบ ยืนหงอยซึม อุณหภูมิของร่างกายสูงมาก และตายในที่สุด
       การป้องกันรักษา ใช้ยาปฏิชีวนะละลายน้ำให้กิน และต้องทำไปพร้อม ๆ กับการทำความสะอาดกรงนกและแยกนกป่วยออก สำหรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้ควรปรึกษาสัตว์แพทย์ 

      โรคฝีดาษ
โรค นี้เกิดขึ้นเนื่องจากยุงเป็นพาหะนำโรคมา คือถูกยุงกัด ลักษณะของโรคที่เกิดขึ้นในขั้นแรกจะเป็นตุ่ม มักพบบริเวณตา จมูก และ ปาก ขา หรือบริเวณที่มีขนคลุมบาง ๆ ต่อมาตุ่มนั้นจะใหญ่ขึ้นเป็นไตแข็งและแตกออกในที่สุด
       การป้องกันรักษา  เมื่อระยะเริ่มแรกของโรค นกจะมีอาการซึมไม่กินอาหาร ต่อมาจะมีตุ่มแถวเกิดขึ้นบริเวณหน้าและตา ฯลฯ ในกรณีที่ไม่ร้ายแรงนกที่เป็นโรคนี้อาจหายไปเองภายใน 2 – 3 สัปดาห์ ส่วนในรายที่เป็นอย่างร้ายแรงมีตุ่มเกิดขึ้นในลำคอ นกนั้นจะแสดงอาการคอโก่ง เวลาที่พยายามกินน้ำหรืออาหาร จึงต้องเปิดปากออกดูว่าเป็นอาการของโรคฝีดาษหรือไม่ หรือว่าเกิดจากอะไรติดคอ จะได้รักษาได้ทันท่วงที การักษาปัจจุบันเราใช้วิธีง่าย ๆ คือ
       1. ชนิดที่เป็นในปาก ใช้ปากคีบถอนเอาตุ่มนั้นออก แล้วใช้ออริโอมัยซินชนิดครีมป้ายที่แผล หรือจะใช้ยาทิงเจอร์ไอโอดีน 2 % แต้มแผลก็ได้
       2. ชนิดที่ขึ้นบริเวณตา หน้า ใช้ทิงเจอร์ไอโอดีน 2 % แต้มหรือจะใช้ฟินนิซิลลิน
ครีม ป้ายกก็ได้เช่นกัน และมียาอีกชนิดหนึ่งซึ่งใช้ได้ผลดี แต่มีสีเปรอะเปื้อนเล็กน้อยคือยาสีม่วง การทาควรทาวันละ 2 หน เช้าและเย็น ไม่นานก็จะหายเป็นปกติ

และเมื่อปรากฏโรคนี้เกิดขึ้นก็จะ ติดต่อกันได้ง่าย จึงต้องรีบแยกออกจากคู่ทันที เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด สำหรับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคควรปรึกษาสัตว์แพทย์ 
      โรคหลอดลมอักเสบ(Bronchitis)       โรค หลอดลมอักเสบหรือโรคหืด หมายถึงการอักเสบของหลอดลม อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมของอากาศโดยรวดเร็ว กรงเลี้ยงชื้นแฉะสกปรก อากาศมีความชื้นมาก นกสูดเอาฝุ่นละอองเข้าไปมาก และยังเกิดขึ้นจากโรตติดต่อและโรคธรรมดาบางโรคด้วย เช่น โรคแอสเปอร์กิลโลซีส โรคหวัด ฯลฯ
ในระยะเริ่มแรกที่นกเริ่มเป็นโรคนี้นกจะ ยังคงกินอาหารได้ตามปกติ ไม่แสดงอาการผิดปกติอะไรให้เห็น เมื่ออาการของโรคทวีขึ้นนกจะเริ่มแสดงอาการซึมเหงา เบื่ออาหาร หายใจลำบาก และมีเสียงดังขณะหายใจและจามเสมอ ๆ บางตัวอ้าปากค้างมีอาการหอบ หางกระตุก มีอาการติดต่อกันเป็นพัก ๆ แต่ไม่รุนแรงเหมือนโรคปอดบวม
      การป้องกันรักษา รีบแยกนกนั้นออกให้ห่างจากนกอื่น ๆ โดยนำมารักษาในกรงพยาบาล ซึ่งมีอากาศอบอุ่นอยู่ตลอดเวลา ใช้ยากลีเซอรีนหรือทิงเจอร์ไอโอดีนหยดลงในน้ำดื่มประมาณ 2 – 3 หยด (แล้วแต่ปริมาณน้ำ) จนกว่าอาการดังกล่าวจะหายเป็นปกติ

หรือจะใช้วิธีรมหัวนกป่วยด้วยไอน้ำอุ่น ซึ่งได้หยดน้ำมันยูคาลิปตัสลงไปเล็กน้อย ในตอนเช้าหรือตอนกลางคืน และใช้น้ำมันแคมฟอเรเตทออยส์(Camphorrated oil) ทาบริเวณคอเพื่อช่วยให้เกิดความอบอุ่นและหายใจสะดวกขึ้น
สำหรับน้ำที่ให้นกกินก็ควรผสมยาเอวิไมซิ น(Avimycin)หรือ ออริโอมัยซิน ลงไปด้วย เพื่อให้นกได้กินยาจะช่วยให้อาการของนกคืนสู่สภาพปกติเร็วขึ้น สำหรับนกที่มีอาการหายใจหอบและเสียงครืดในลำคอ หากอาการน่าวิตกควรผสมยาในอัตราส่วนโดยประมาณ ดังนี้
          กรดแอมโมเนียอย่างแรง  3  หยด
          ทิงเจอร์ซึ่งสกัดได้จาก”ซีควิล” 3  หยด
          กรดดินประสิวอย่างหวาน  3  หยด
 ผสมลงในน้ำประมาณ 2 ช้อนโต๊ะ แล้วใช้หยอดลงในลำคอครั้งละ 5 หยด จนกว่าอาการจะดีขึ้น

         โรคหวัดและหนาวสั่น         โรคหวัดของนกนั้นมีอาการเหมือนโรคหวัดของคนคือ มีอาการจามและมีน้ำมูกไหลออกมาทางรูจมูก หรือมีเสมหะเหนียวออกจากปากเมื่อไอหรือจาม
 การป้องกันรักษา รีบแยกนกป่วยออกไปไว้ในกรงพยาบาล อุณหภูมิของกรงพยาบาลควรให้มีความอบอุ่นสูงประมาณ 75 – 90 องศาฟาเรนไฮด์(ใช้แสงไฟฟ้า 100  แรงเทียน อยู่ใต้พื้นกรงแหละใช้ยาปฏิชีวนะ เช่น เทอร์รามัยซิน ผสมลงในน้ำดื่มเพียงเล็กน้อย ก็สามารถช่วยให้อาการใข้หายได้

         โรคปอดอักเสบ โรค นี้เป็นที่มีมาคู่กับการเลี้ยงสัตว์ปีกแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว สาเหตุของโรคนี้เกิดจากสถานที่เลี้ยงได้รับลมโกรกมากเกินไป หรืออากาศเดี๋ยวร้อนเดี๋ยวหนาวจนเกิดอาการเป็นหวัด เป็นหืด แล้วตามด้วยโรคปอดอักเสบ ที่มีอาการซึมไม่ร่าเริง ขนฟู จาม สำลัก หายใจฟืดฟาด หากไม่ได้รับการรักษาอาการโรคหวัดให้หายขาด
        การป้องกันรักษา ให้รับแยกนกป่วยออกมาขังไว้ในกรงพยาบาล เอาผ้าคลุมกรงไว้เว้นช่องระบายอากาศไว้เพียงเล็กน้อย เพื่อให้นกได้รับความอบอุ่น ถ้าอุณภูมิภายในกรงยังอบอุ่นไม่พอก็ให้ใช้หลอดไฟฟ้าขนาด 5 – 10 แรงเทียน เปิดเป็นช่วง ๆ หากนกยังพอกินน้ำได้ การรักษาก็ใช้ยาปฏิชีวนะที่ใข้รักษานกทั่วไปที่มีขายตามร้านขายยาสัตว์ หรือไม่ก็ให้ปรึกษาสัตว์แพทย์      

        โรคเก้าหรือข้อบวม(gout)        โรคนี้เกิดจากสาเหตุหลายประการด้วยกัน เชน นกเป็นโรคเกี่ยวกับไต นกกินอาหารที่มีโปรตีนสูงเกินไป หรือกินอาหารทีมีไขมันมากๆ นกกินอาหารไม่ถูกส่วน ขาดไวตามินและขาดการออกกำลังกาย โดยทั่ว ๆ ไปมักจะเป็นกับนกที่มีอายุมากกว่านกทีมีอายุน้อย นกที่ป่วยเป็นโรคนี้จะแสดงอาการข้อขาและข้อเท้าค่อย ๆ บวมขึ้น นกรู้สึกเจ็บปวด สุขภาพเลวลง  และอาจมีอาการท้องร่วงเรื้อรังเล็กน้อยด้วย ถ้านกตายแล้วทำการผ่าซากดูไตจะบวมกว่าธรรมดาเล็กน้อย
        การป้องกันรักษา ใช้ทิงเจอร์ไอโอดีนอ่อน ๆ ทาตามข้อที่บวมบาง ๆ วันละ 1 ครั้ง ย้ายนกไปในกรงกว้าง ๆ เพื่อให้ได้บินออกกำลังมาก ๆ ให้อาหารพวกพืชสดสีเขียว  ใช้น้ำต้มผสมโซเดียมไบคาร์บอเนตเล็กน้อยตึ้งให้กินจะช่วยป้องกันให้หายได้ใน เวลาไม่นานนัก

       โรคท้องผูก(Constipation)       โรคท้องผูกเป็นโรคที่นับว่าสำคัญมากโรคหนึ่งของนกเลี้ยงขังกรงทั่ว ๆ ไป สาเหตุของโรคนี้เกิดจากนกได้รับการเลี้ยงดูด้วยอาหารไม่เหมาะสม เช่น ให้อาหารหยาบแห้งเกินไป อาหารไม่มีพวกพืชสดสีเขียว  ให้น้ำนกไม่เพียงพอแก่ความต้องการ การขาดการออกกำลังกาย เลี้ยงนกไว้ในกรงที่คับแคบเกินไป ไม่มีที่กระโดดโลดเต้นโผบินได้ เกิดการอุดตันขึ้นในลำไส้ หรือเป็นโรคเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหารผิดปกติ และนอกจากนี้ยังจะเกิดขึ้นจากโรคบางโรคได้
สำหรับอาการที่สังเกตเห็นได้ก็คือ นกจะถ่ายอุจจาระเป็นไปด้วยความยากลำบาก อุจาระจะออกมาเพียงเล็กน้อยและเป็นก้อนแข็ง ถ้าเป็นอยู่นานวันนกจะเหงาซึม ค่อย ๆ เบื่ออาหารลงเรื่อย ๆ
       การป้องกันรักษา ควรทำดังนี้
       1. หยดน้ำมันโอลีฟ หรือน้ำมันพาราฟิน หยดใส่ปากนกครั้งละ 1 – 2 หยด จนกว่าอาการจะเข้าขั้นปกติ
       2. น้ำต้องจัดตั้งไว้ให้กินตลอดเวลา และในน้ำก็ให้เติมโซดาซัลเฟตลงไปเล็กน้อย
       3. ให้อาหารพวกพืชสดสีเขียวให้กิน
       4. ถ้าจำเป็นต้องสวนทวรให้ ก็ควรใช้น้ำสบู่อุ่น ๆ หรือจะใช้กลีเซอรีนก็ได้ เพื่อช่วยให้ก้อนแข็งของอุจจาระที่อุดปิดอยู่นั้นอ่อนเหลวลื่นเสียก่อน

       โรคท้องร่วง       โรคนี้โดยทั่วไปมักจะเกิดจากการถ่ายของนกป่า ซึ่งอาจบินผ่านหรือชอบมาป้วนเปี้ยนอยู่ใกล้ ๆ กรงนกเลี้ยง แล้วถ่ายอุจจาระซึ่งมีเชื้อนั้นทิ้งไว้บนพื้นกรง ในน้ำดื่มเกิดการติดเขื้อ นกที่ป่วยเป็นโรคนี้จะมีอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง ถ่ายออกเป็นน้ำใส ๆ และมีอาการเซื่องซึม ไม่มีแรง
        การป้องกันรักษา ถ้าสงสัยหรือเห็นได้ชัดเจนจากอาการดังกล่าวแล้ว ควรใช้ยาซัลฟาเมชีนโดยหาซื้อและขอคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการใช้จากร้านสัตว์ แพทย์โดยทั่วไป สำหรับยาชนิดอื่นที่เป็นยาปฏิชีวนะ เช่น พวกเทอร์รามัยซินก็สามารถใช้ได้ โดยผสมลงในน้ำเพียงเล็กน้อย เพื่อให้นกดื่มกินรักษาป้องกันได้ผลดีเช่นกัน

         โรคเครื่องย่อยอาหารพิการ           หากไม่พบว่ากระเพาะเก็บอาหารมีลักษณะผิดปกติ ซึ่งอาจเกิดจากการถูกกระทบกระแทก ก็อาจเชื่อได้ว่าอาจเป็นเพราะเครื่องย่อยอาหารพิการ โดยนกจิกกินอาหารได้เพียงครู่เดียวก็หยุด หรือไม่ก็จิกคุ้ยอาหารทิ้งแล้วหยุดเช็ดถูจงอยปาก มีอาการขนพอง กินอาหารได้น้อย
           การป้องกันรักษา ให้ลดปริมาณอาหารให้น้อยลง ใช้พาราฟินอย่างเหลวผสมลงในอาหารเล็กน้อยให้กิน สำหรับทราย ซึ่งจะช่วยย่อยอาหารนั้นควรเพิ่มให้ที่ละน้อย เมื่อนกมีอาการดีแล้ว และต่อไปควรป้องกันระวังไว้อย่าให้ทรายผสมขาดได้ ต้องให้สม่ำเสมอ เพราะนกทุกขนิดต้องกินทรายหรือกรวดเม็ดเล็ก ๆ เพื่อใช้ในการบดย่อยอาหารให้ดีอยู่เสมอ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น